โทรศัพท์ / โทรสาร 0 3648 9123
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ abtksmk489123@gmail.com
Facebook @khaosamokhon.go.th
การสร้างบ้าน การขอเลขประจำบ้าน และการรื้อถอนบ้าน
บ้านเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของเรา การมีบ้านเป็นสัญลักษณ์แห่งการเริ่มต้นชีวิตใหม่ ที่จะเจริญก้าวหน้าต่อไป
ดังนั้น การปลูกบ้านที่ได้มีการปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบจึงเป็นการส่งเสริมความมั่นคงของชีวิตในฐานะเป็นพลเมืองดีและเสริมสร้างความดีงามแก่จิตใจ
ขั้นตอนในการปลูกสร้างบ้าน
- ในเขตที่ประกาศใช้กฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือกฎหมายผังเมืองบ้านหรืออาคาร ที่จะปลูกสร้าง ต้องได้รับอนุญาตแบบแปลนเสียก่อนและจะสร้างเกินกว่าแบบที่ได้รับอนุญาตไม่ได้โดยยื่นคำร้อง ได้ที่สำนักงานเทศบาล สำนักงานเมืองพัทยา และสำนักงานเขตหรือกรุงเทพมหานคร อำเภอ แล้วแต่กรณี
- บริเวณนอกเขตควบคุมตามข้อ 1 บ้านหรืออาคารที่ปลูกสร้างไม่ต้องอนุญาตสามารถปลูกสร้างได้เลย
การแจ้งการปลูกสร้างบ้านและผู้มีหน้าที่รับแจ้ง
เมื่อปลูกบ้านหรืออาคารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เจ้าบ้านไปแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่นั้น ๆ คือนายทะเบียนท้องถิ่น หรือกำนัน หรือ ผู้ใหญ่บ้าน หรือปลัดอำเภอ หรือผู้ช่วยนายทะเบียน ณ สำนักงานเทศบาล สำนักงานเมือง สำนักเขต กรุงเทพมหานคร ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณีเพื่อขอเลขประจำบ้านภายใน 15 วัน นับแต่วันปลูกสร้างบ้านเสร็จ หากไม่ไปแจ้งตามกำหนดมีความผิดตามกฎหมายมีโทษปรับ ไม่เกิน 1,000 บาท
หลักฐานที่จะต้องนำไปแจ้งเพื่อขอเลขประจำบ้าน
- หนังสือหรือเอกสารได้รับอนุญาตการปลูกสร้างบ้าน หรืออาคาร (เฉพาะในเขตพื้นที่ที่ประกาศ ใช้กฎหมายควบคุมอาคาร หรือกฎหมายผังเมือง)
- สำเนาทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวของผู้แจ้ง กรณีผู้ที่ได้รับมอบหมายให้นำบัตรประจำตัว ของผู้มอบและหนังสือมอบหมาย (ถ้ามี) ไปแสดงด้วย
- หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ปลูกสร้างบ้าน สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่า (ถ้ามี)
- ผู้แจ้งให้ยื่นคำร้องตามแบบที่กำหนดต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งพร้อมหลักฐานที่นำไปแสดง
วิธีการรับแจ้ง
เมื่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งได้รับแจ้งการสร้างบ้านใหม่แล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานที่นำไปแสดง เมื่อเห็นว่าถูกต้อง ก็ให้กำหนดเลขหมายประจำบ้านให้พร้อมกับจัดทำทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านต่อไป โดยจะมอบสำเนาทะเบียนบ้านให้แก่ผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน เพื่อดำเนินกรในเรื่องการ ย้ายบุคคลเข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้านในโอกาสต่อไป หรือจะดำเนินการในคราวเดียวกันก็ได้ ส่วนเลขประจำบ้าน ที่นายทะเบียน กำหนดให้นั้น ให้เจ้าบ้านไปจัดทำเลขประจำบ้านติดไว้ที่หน้าบ้านหรือที่รั้วบ้าน ซึ่งเห็นได้ชัดแจ้ง
การรื้อถอนบ้านซึ่งมีเลขประจำบ้าน
เมื่อได้มีการรื้อถอนบ้านหรืออาคารโดยไม่ประสงค์จะปลูกสร้างใหม่ในที่ดินนั้นอีก หรือรื้อเพื่อไป ปลูกสร้างที่อื่น ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งภายใน 1 วัน นับแต่วันรื้อถอนเสร็จพร้อมกับนำสำเนาทะเบียนบ้านคืนแก่นายทะเบียนด้วย หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร
การก่อสร้าง การดัดแปลง การรื้อถอน เคลื่อนย้าย และการใช้สอยอาคาร ภายในเขตเทศบาลต้องได้รับอนุญาตจากเทศบาลเสียก่อน จึงจะดำเนินการได้ ทั้งนี้ เพราะเทศบาลมีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคง แข็งแรง ความปลอดภัย การป้อง กันอัคคีภัย การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกในการจราจร เพื่อประโยชน์ของผู้อยู่อาศัยในอาคาร
หลักเกณฑ์ ขออนุญาตก่อสร้าง
- ให้ยื่นคำร้องขออนุญาต(ข.1) ที่สำนักการช่าง
- หลักฐานอื่นๆ ที่ต้องมายื่นประกอบแบบแปลนดังนี้
– แบบแปลนก่อสร้าง 5 ชุด
– ภาพถ่ายเอกสาร, สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ขออนุญาต 1 ชุด
– ภาพถ่ายเอกสาร, บัตรประจำตัวประชาชน(หน้า-หลัง) ผู้ขออนุญาต 1 ชุด
– ภาพถ่ายเอกสารโฉนดที่ดิน, นส.3 ถ่านต้นฉบับจริงทุกหน้า 1 ชุด
– รับรองเอกสารถูกต้องในเอกสารทุกฉบับ
- กรณีสร้างในที่ของบุคคลอื่น มีหลักฐานดังต่อไปนี้
– หนังสือยินยอมเจ้าของที่ดิน
– ภาพถ่ายเอกสาร, สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1 ชุด
– รับรองเอกสารถูกต้องในเอกสารทุกฉบับ
- กรณีตกลงก่อสร้าง/ดัดแปลงอาคารโดยวิธีทำผนังร่วมกันกับบุคคลอื่น มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
– หนังสือตกลงก่อสร้าง/ดัดแปลงอาคารโดยวิธีทำผนังร่วมกัน 1 ชุด
– ภาพถ่ายเอกสาร, สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินผู้ขอทำความตกลง 1 ชุด
– ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1 ชุด
– รับรองเอกสารถูกต้องในเอกสารทุกฉบับ
- ขณะนี้กองช่าง มีแบบบ้านบริการประชาชน 30 แบบ
– มีอาคารชั้นเดียวและสองชั้น
– ขณะนี้เทศบาลได้ใช้เทศบัญญัติเรื่องควบคุมอาคารฉบับใหม่แล้ว ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่กองช่าง
- หน้าที่อื่นๆ ที่ต้องขออนุญาตกับกองช่าง
– ขอกองวัสดุในเขตทางหลวงเทศบาล
– ตัด คัดหินทางเท้าคอนกรีต
– เชื่อมท่อระบายน้ำจากอาคารลงสู่ท่อสาธารณประโยชน์
แบบบ้านมาตรฐาน ขออนุญาตก่อสร้าง
ของเทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด
การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและการบริการประชาชน ถือได้ว่าเป็นงานหลักที่สำคัญที่สุดของกรมการปกครอง ประกอบกับนโยบายของ รัฐบาล และกระทรวงมหาดไทยที่เร่งรัดให้มีการปรับปรุงการบริการประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
กรมการปกครองพิจารณาเห็นว่าในปัจจุบันนี้ ปัญหาที่ประชาชนส่วนใหญ่มักประสบเมื่อต้องการปลูกสร้างบ้านพักอาศัยก็คือ การต้องเสียเวลา และค่า ใช้จ่ายในการเขียนแบบ ออกแบบ และรับรองแบบเพื่อนำไปยื่นคำขออนุญาตปลูกสร้างอาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ฉะนั้น เพื่อเป็นการอำนวย ความ สะดวกรวดเร็ว ประหยัดทั้งเวลา และค่าใช้จ่ายในการติดต่อขออนุญาตปลูกสร้างบ้านพักอาศัยแก่ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ อันได้แก่ เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนจังหวัด กรมการปกครองจึงได้จัดทำหนังสือแบบบ้านมาตรฐาน บ้านพักอาศัยไว้บริการแก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย หรือ ประชาชนผู้มีความประสงค์จะใช้แบบดังกล่าวในการยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารต่อท้องถิ่นนั้นๆ โดยไม่คิดมูลค่า จำนวน 20 แบบ ประกอบด้วย
- แบบบ้านชั้นเดียว 5 แบบ
- แบบบ้านใต้ถุนสูง 5 แบบ
- แบบบ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ 5 แบบ
- แบบบ้าน 2 ชั้น 5 แบบ
กรมการปกครองหวังเป็นอย่างยิ่งว่า แบบมาตรฐานบ้านพักอาศัยนี้ จะสามารถอำนวยประโยชน์แก่ประชาชนให้ได้รับความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด เวลาค่าใช้จ่าย และลดขั้นตอนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ลงอีกด้วย
อนึ่ง กรมการปกครองถือว่า “ความเป็นเลิศในทางบริการ คือ รากฐานของการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น” ซึ่งกรมการปกครองจะได้เร่งรัดและ หาหน ทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ของท้องถิ่นให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน และเป็นที่พึ่งของประชาชนยิ่งๆ ขึ้น
ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับเงินช่วยเหลือเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จะต้องมีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
- สัญชาติไทย มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามทะเบียนบ้าน
- อายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
- 3. ต้องไม่เคยได้รับสิทธิ์ประโยชน์จากหน่วยงานรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ไม่ว่าจะเป็นเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ รวมถึงเงินอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน เช่น ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐจัดให้เป็นประจำ
สำหรับการลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในปี 2563 จะเป็นการลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อรับเงินในปีงบประมาณ 2564 (คือเดือนตุลาคม 2563-กันยายน 2564) ดังนั้น ผู้ที่ลงทะเบียนในปี 2563 จะยังไม่ได้รับเงินในทันที เพราะจะได้รับเงินตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ผู้ที่สามารถลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพในปี 2563 ได้ คือ
- ผู้ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และยังไม่เคยลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุมาก่อน
- ผู้ที่จะมีอายุครบ 60 ปี ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ซึ่งนับอายุจนถึงวันที่ 1 กันยายน2564 ดังนั้นต้องเป็นผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน 2504 จึงจะมีสิทธิ์ลงทะเบียนล่วงหน้าในปี 2563 เพื่อรอรับเงินในปีงบประมาณ 2564 (สำหรับผู้สูงอายุที่ทะเบียนราษฎรระบุเฉพาะปีเกิด แต่ไม่ทราบวันเกิด/เดือนเกิด ให้ถือว่าเกิดวันที่ 1 มกราคม ของปีนั้น ๆ)
- ผู้ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปที่เคยลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแล้ว แต่มีการย้ายภูมิลำเนา เช่น เคยลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพที่จังหวัดชลบุรี แต่ปีนี้ย้ายภูมิลำเนามาอยู่ที่ตำบลเขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี จะต้องไปลงทะเบียนใหม่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาสมอคอน
1. รับเงินสดด้วยตนเอง
2. รับเงินสดโดยผู้รับมอบอำนาจ
4. โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามผู้รับมอบอำนาจ
1.ผู้พิการรายใหม่ที่ยังไม่เคยลงทะเบียน และผู้พิการที่ย้ายภูมิลำเนาเข้ามาใหม่ ก่อนหรือภายในเดือนพฤศจิกายนของปีนั้น
2. ผู้พิการซึ่งจะมีสิทธิได้รับเงินเบี้ยความพิการ ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้
– มีสัญชาติไทย
– มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามทะเบียนบ้าน
– มีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ
– ไม่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์ของรัฐ
ขั้นตอนการยื่นคำขอลงทะเบียนเบี้ยความพิการ
ให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ ยื่นคำขอลงทะเบียนรับเงินเบี้ยความพิการ ต่อองค์การบริหารส่วนตำบลเขาสมอคอน ตั้งแต่เวลา 08.30 น. – 16.30 น. ในวันเวลาราชการ
คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการจะต้องนำหลักฐานประกอบแบบคำขอลงทะเบียนดังนี้
- บัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการพร้อมสำเนา
- ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา
- สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารพร้อมสำเนา สำหรับกรณีที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยความพิการผ่านธนาคาร
- บัตรประจำตัวประชาชนผู้ดูแลคนพิการ กรณีเป็นผู้ยื่นคำขอแทนคนพิการ
ในการยื่นคำขอลงทะเบียนรับเงินเบี้ยความพิการ จะต้องแสดงความประสงค์ของรับเงินเบี้ยความพิการโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง
- รับเงินสดด้วยตนเอง
- รับเงินสดโดยผู้ดูแลคนพิการ
- โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารนามผู้มีสิทธิ
- โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามผู้ดูแลคนพิการ